เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 8.วินยวรรค 10.อธิกรณสมถสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า ‘ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไป
เพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ให้ดีว่า ‘นี้ไม่ใช่ธรรม
นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่ใช่สัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดา)’ แต่เธอรู้ธรรมเหล่าใดว่า
‘ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ
เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน’ เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้ให้ดีว่า
‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์”
สัตถุสาสนสูตรที่ 9 จบ

10. อธิกรณสมถสูตร
ว่าด้วยอธิกรณสมถธรรม
[84] ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณสมถธรรม(ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์) 7 ประการนี้
เพื่อระงับ เพื่อดับอธิกรณ์1ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
ธรรม 7 ประการ2 อะไรบ้าง คือ
1. สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย 2. สงฆ์พึงให้สติวินัย
3. สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัย 4. สงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ

เชิงอรรถ :
1 อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี 4 อย่าง คือ (1) วิวาทาธิกรณ์ การถกเถียงกันเกี่ยว
กับพระธรรมวินัย (2)อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (3)อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง
อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (4) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่าง ๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ
เช่น การให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. 2/15/13) และดู วิ.จู. 6/215/245-246
2 สัมมุขาวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าคือต้องพร้อมทั้ง 4 พร้อมดังนี้ (1) พร้อมหน้าสงฆ์
ได้แก่ ภิกษุเข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี (2) พร้อมหน้าบุคคล ได้แก่ คู่กรณี
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้า (3) พร้อมหน้าวัตถุได้แก่ ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาวินิจฉัย
(4) พร้อมหน้าธรรม ได้แก่ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย
สติวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศสมมติให้ว่าพระอรหันต์เป็นพระอริยะผู้มีสติสมบูรณ์ เป็นวิธี
ระงับโดยเอาสติเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันตขีณาสพ เป็นการบอกให้รู้ว่าใครจะโจทพระอรหันต์ไม่ได้
อมูฬหวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้วในกรณีที่มีผู้โจทภิกษุนั้น
ด้วยอาบัติที่ต้องในขณะเป็นบ้า สงฆ์จะสวดประกาศสมมติเพื่อไม่ให้ใคร ๆ โจทเธอด้วยอาบัติ
ปฏิญญาตกรณะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยปรับอาบัติตามคำรับสารภาพของภิกษุผู้ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :179 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 8.วินยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
5. สงฆ์พึงให้เยภุยยสิกา 6. สงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา
7. สงฆ์พึงให้ติณวัตถารกะ
ภิกษุทั้งหลาย อธิกรณสมถธรรม 7 ประการนี้แล เพื่อระงับเพื่อดับอธิกรณ์
ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
อธิกรณสมถสูตรที่ 10 จบ
วินยวรรคที่ 8 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมวินยธรสูตร 2. ทุติยวินยธรสูตร
3. ตติยวินยธรสูตร 4. จตุตถวินยธรสูตร
5. ปฐมวินยธรโสภณสูตร 6. ทุติยวินยธรโสภณสูตร
7. ตติยวินยธรโสภณสูตร 8. จตุตถวินยธรโสภณสูตร
9. สัตถุสาสนสูตร 10. อธิกรณสมถสูตร


เชิงอรรถ :
เยภุยยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินตามเสียงข้างมาก สงฆ์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่บุคคลหลาย
ฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน
ตัสสปาปิยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินลงโทษแก่ผู้กระทำผิด เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐาน
พยานแล้วเห็นว่ามีความผิดจริง แม้เธอจะไม่รับสารภาพก็ตาม
ติณวัตถารกะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยให้ทั้ง 2 ฝ่ายประนีประนอมกัน เปรียบเหมือนเอาหญ้ากลบไว้
ไม่ต้องชำระสะสางความ วิธีนี้ใช้ระงับอธิกรณ์ที่ยุ่งยาก เช่น กรณีพิพาทกันของภิกษุชาวกรุงโกสัมพี ดู
กงฺขา.ฏีกา 470 (วิ.อ. 3/195/292-293, 202/293, 207/294, 212/294-295, 340/487,
483/548) และดู วิ.จู. 6/185-212/218-243, วิ.ป. 8/275/210

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :180 }